เรื่องควรรู้เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ชนิดเม็ด ตอนที่ 1
สำหรับสาวๆ ที่ยังไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ ควรทำการป้องกันหรือทำการคุมกำเนิด เพื่อที่เด็กที่จะเกิดมาในอานาคตจะได้ไม่เป็นปัญหาให้กับครอบครัวหรือสังคมในภายภาคหน้า ซึ่งการป้องกันหรือการคุมกำเนิดนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วันนี้แอดมินขออนุญาตพูดถึงการคุมกำเนิดโดยการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดก่อน เพราะเป็นวิธีที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมใช้ในการคุมกำเนิด ซึ่งเนื้อหาที่จะนำมาเผยแพร่ต่อไปนี้ มีประโยชน์อย่างมาก สาวๆ ทุกคนควรอ่านกันนะจ๊ะ
เริ่มจากยาเม็ดคุมกำเนิด ประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนในร่างกาย ในการทำหน้าที่หลอกระบบภายในร่างกาย ไม่ให้มีไข่ตก มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ นอกจากนี้ยังไปทำให้ผังเยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อตัวไม่เหมาะต่อการเจริญของตัวอ่อน
วีธีรับประทานยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิด
แบบ 21 เม็ด : ยาทุกเม็ดในแผงจะประกอบด้วยฮอร์โมนทั้งหมด การเริ่มรับประทานยาเม็ดแรกให้เริ่มนับวันแรกที่มีประจำเดือน โดยเริ่มให้ตรงกับวันของสัปดาห์ที่ระบุบนแผงยา เช่น ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันอังคาร ก็ให้เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกที่ระบุไว้ว่า “อ” รับประทานยาวันละ 1 เม็ดเป็นประจำทุกวัน ตามลูกศรชี้จนหมดแผง เมื่อทานครบ 21 เม็ด ให้หยุดยา 7 วัน และเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้ทันที ถึงแม้ว่าประจำเดือนจะหมดหรือไม่ก็ตาม ด้วยวิธีนี้เมื่อเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ วันที่เริ่มรับประทานยาแผงใหม่จะตรงกับวันแรกที่เริ่มรับประทานยาแผงแรกเสมอ
แบบ 28 เม็ด : เม็ดยาในแพงจะประกอบด้วยฮอร์โมน 21 เม็ด (เม็ดเล็ก) อีก 7 เม็ดที่เหลือ (เม็ดใหญ่) จะไม่ใช่ฮอร์โมนเพศ การเริ่มรับประทานยาก็ให้เริ่มนับวันแรกที่มีประจำเดือน โดยรับประทานยาเม็ดแรกในส่วนที่ระบุบนแผงยาว่าเป็นจุดเริ่มต้น รับประทานยาวันละ 1 เม็ดเป็นประจำทุกวัน ตามลูกศรชี้จนหมดแผง เมื่อรับประทานหมดแล้วสามารถรับประทานยาแผงใหม่ได้ทันที ถึงแม้ว่าประจำเดือนจะหมดหรือไม่ก็ตาม
หมายเหตุ : การรับประทานยาคุมในแต่ละวันควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกันเสมอ
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
- อาจทำให้ระยะเวลาและปริมาณเลือดประจำเดือนที่ออกมาน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในสตรีที่ทานยาคุมกำเนิด
- อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง อาทิเช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ, ตึงคัดเต้านม, เป็นฝ้า, น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งอาจพบใน 2-3 เดือนแรก แล้วจะค่อยๆ หายไป แต่หากพบอาการข้างเคียงนี้มาก และ/หรือไม่หายภายใน 2-3 เดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์
- อาการเลือดออกกะปริดกะปรอย มักพบในผู้ที่ลืมรับประทานยาหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอเป็นเวลาเดียวกัน วิธีแก้คือให้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ กรณีมีเลือดออกมากควรรีบปรึกษาแพทย์
ยาคุมกำเนิด
บทความโดย Charme’ (ชาร์เม่) อัพเดทเทรนด์ แฟชั่น สุขภาพ ความงาม
You must be logged in to post a comment Login